🌏 ปัญหาโลกแตก: จะรู้ได้ยังไง ว่านี่คืองานที่เราชอบ? 😰

เรามั่นใจว่าทุกคนเคยได้ยินคำกล่าวนี้…Quotefancy-2001780-3840x2160คำแปล: จงเลือกงานที่คุณรักและคุณจะไม่ต้องทำงานอีกแม้แต่วันเดียวในชีวิตของคุณ – ขงจื๊อ

ปัญหามันอยู่ตรงนี้แหละค่ะ แล้วงานที่ชอบของแต่ละคนคืออะไรล่ะ?

👩‍🎓 สำหรับนักศึกษาจบใหม่…ก็น่าจะเป็นสายงานที่ค่อนข้างตรงกับสาขาที่ตนเองได้ร่ำเรียนมา

👩‍💻 สำหรับ first-jobber หรือ คนที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ปีสองปี…ก็น่าจะเป็นงานที่ตนเองถนัดและได้ค่าตอบแทนสูง งานหนักแค่ไหนก็สู้

👩‍💼 สำหรับมนุษย์เงินเดือนวัยกลางคน…ก็น่าจะเป็นงานที่ทำได้ดี รู้สึกว่าตนเองมี expertise (ความเชี่ยวชาญ)​ สวัสดิการดี มีความมั่นคง

👩‍🎨 สำหรับชะนีฟรีแลนซ์คนนี้…ก็คือความชอบและความรักที่เรามีให้ต่อสิ่งที่เราทำอยู่ และ การที่เราไม่ต้องรู้สึกว่า “ต้องตื่นเช้าอีกแล้ว” “ต้องไปเจอหัวหน้าคนนี้อีกแล้ว” “ต้องออกไปเจอรถติดอีกแล้ว” “TGIF (Thank God it’s Friday) เพราะเราทำงานเสาร์อาทิตย์! ฮ่าๆๆๆ) และที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำงานแต่ไม่ได้รู้สึกว่าทำงาน

มันเป็นไปได้ด้วยหรอ?​ 

เป็นไปได้สิ! 🙂

ancient aliens yes GIF-source
Credit: Giphy.com

เป็นเวลา 2 ปีของเราแล้วที่ออกจากระบบเงินเดือน และยังรู้สึกว่าการที่เราต้องออกไปสอนทุกๆวัน ไม่เหมือนการออกไปเจอรถติด (ที่เหมือนจะติดมากขึ้นทุกวันของประเทศกรุงเทพฯ นี้) คนในออฟฟิศที่เราไม่อยากเจอ และ ค่าครองชีพแสนแพงในใจกลางเมือง 💸

13346199_10154080429851638_4629697994271463_o

น่าแปลกใจที่เราเคยมีทั้งโบนัส สวัสดิการทางด้านสุขภาพ วันลาพักร้อน วันลากิจ และ วันลาป่วย แต่กลับกลายเป็นว่า เรามีเงินเก็บน้อยมาก!!! แต่เมื่อเปลี่ยนสายงาน กลับมีเงินเก็บมากขึ้น ได้ทำนู่นนี่ที่อยากทำ และ ยังมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น ได้จะทำอะไรที่เราอยากทำ แต่ไม่มีโอกาสทำในระหว่างที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือน (สามารถกลับไปอ่าน blog ที่เราเขียนเกี่ยวกับการเงินได้ ที่นี่ 🖱)

แต่ key message หลักๆ ของเราที่อยากจะสื่อไปถึง นักศึกษาที่กำลังจะหางาน คนที่กำลังทำงานแต่อยากจะหางานให้ตรงกับความชอบมากกว่านี้ และ ทุกๆ คนที่ได้เข้ามาอ่าน blog นี้ว่า เราสามารถทำงานที่เรามี passion หรือ งานที่เรารักควบคู่ไปกับงานประจำได้ เพื่อที่จะได้มีตัวเปรียบเทียบว่าจริงๆ แล้ว เราชอบอะไร ได้เห็นถึงข้อดี ข้อเสีย ของงานที่มีอยู่ในมือเรา จนกระทั่งแน่ใจแล้วว่า เราสามารถอยู่กับงานนี้ได้จริงๆ ทั้งด้านความชอบ ความถูกจริต และ การเงินที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ตัวเราเองได้ฝึกสอนบัลเล่ต์มาตั้งแต่ ม.ปลาย ก็ร่วม 15 ปีได้ และได้เป็นคุณครูเต็มตัวมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว (ทำไมรู้สึกแก่ 😅) และเราได้มีการสอนบัลเล่ต์ควบคู่ไปกับงานประจำ จนพี่ๆ ที่รู้จักหลายๆ คนเริ่มขอคิวเราเพิ่มและเราก็ได้คำนวณแล้วว่า เงินเดือนประมาณนี้เราอยู่ได้ เราจะเก็บเท่าไหร่ เราจะใช้เท่าไหร่ ตลบไปตลบมาจนแน่ใจว่าเราสามารถออกมาทำงานสายนี้ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อนใครเราจึงออกมารับงานเองจนถึงทุกวันนี้

ทุกอย่างอยู่กับการจัดการเวลา โอกาส และ การไม่ปิดกั้นโอกาสของตัวเราเองนะคะ เราหวังว่า blog ของเราจะช่วยคนที่กำลังหาคำตอบให้คำถามที่ว่า “จะรู้ได้ยังไง ว่านี่คืองานที่เราชอบ?” ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

ถ้าอ่านแล้วชอบฝากกดไลค์ กดแชร์ และ  follow  Things that Matter  ด้วยนะคะ 🙂 

ว่าด้วยเรื่องวินัยของมุนษย์ฟรีแลนซ์ (ตอนที่ 3: เงิน เงิน เงิน!!!)

หลังจากที่ห่างหายจากการโพสต์ไปนาน เนื่องจากมีงานที่จะต้องสะสางและอื่นๆอีกมากมาย Things that Matter’s Blog ได้กลับมาแล้วเด้อ!

หลังจากเราได้พูดถึงเรื่อง สุขภาพ ที่เราจะต้องรักษาเนื้อรักษาตัวดีๆ จะได้ไปทำงานได้โดยที่ไม่ต้องลาหยุด และ วินัยในการทำงาน ที่ไม่ควรลาบ่อย ตรงต่อเวลา และ การเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนที่จะไปทำงาน

รอบนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องที่เราทุกคนปฏิเสธไม่ได้ว่า ถึงจะทำงานที่รักยังไง เงินติดกระเป๋าก็ต้องมี เงินเก็บในบัญชีต้องไม่ขาด จริงมั๊ยคะ?

Billion Back Records money cash make it rain dollar GIF
Credit: Billy Back Record GIPHY

 

คำถามที่อยากจะให้ทุกคนลองคิดกับตัวเองคือ
“ต้องได้เงินเท่าไหร่ถึงจะพอ?”

บางคนบอกว่าต้องได้ เดือนละ 30,000 ก็อยู่ได้แล้ว อีกคนบอกว่า ต้องได้สัก 100,000 บาทถึงจะอยู่ได้…เราเลยอยากจะบอกว่า ไม้บรรทัดของแต่ละคนมันไม่เท่ากันจริงๆ เงินไม่ได้ลอยมาหาเราง่ายๆนะคะ เราต้องขยันทำงานด้วย และ มองหาโอกาสอยู่ตลอดเวลาค่ะ 😉

สิ่งนึงที่เราอยากจะชี้แจงสำหรับคนที่กำลังคิดที่อยากจะออกมาทำงานให้ตัวเอง ไม่ต้องเข้างานออฟฟิศ ก็คือเราต้องเข้าใจว่า เราจะได้รับเงิน ต่อเมื่อเราไปทำงานได้จริงๆ เท่านั้น! ถ้า No Show ไม่ว่าจะด้วยเหตุได้ก็ตาม ลากิจ ลาป่วย หรือลาเที่ยว ถือว่ารายได้วันนั้นก็เท่ากับ 0 (ศุนย์) ค่ะ!

แล้วตัวเราเองจัดการกับเงินนั้นยังไง?​

ส่วนตัวแล้วไม่ว่าจะได้เงินมาในแต่ละเดือนเท่าไหร่ เราจะแบ่งเงินเก็บออกเป็นหลายๆ ส่วนค่ะ พอได้เงินค่าจ้างต่างๆ นาๆ มาในแต่ละเดือนเราจะแยกเงินเป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ค่ะ

Image result for Money saving
From: http://businessingambia.com/habits-good-money-savers/
  1. เงินเก็บระยะยาว เช่น LTF ลงทุนกองทุนต่างๆ ให้มีผลกำไรงอกเงยมากกว่าค่าเงินเฟ้อ และมีใช้ตอนที่เราเดือนร้อน และเมื่อเรา AGE (แก่)! เบี้ยประกันชีวิตต่อปี (อันนี้ก็จะเอาเงินที่ต้องจ่ายต่อปีมาหาร 12 แล้วดูว่าต่อเดือนต้องออกเท่าไหร่ จ่ายจริงจะได้ไม่เจ็บมาก)
  2. เงินเก็บระยะสั้น เช่น เงินจ่ายค่าเรียน (อันนี้ก็หารแบ่งจากแต่ละเดือนไปใส่กองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ พอถึงเวลาจ่ายเงินเราก็จะได้ถอนเงินออกมา พร้อมกับดอกเบี้ยอีกนิดหน่อย นิดจริงๆนะ) และเงินที่เก็บไว้เผื่อมีเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล ที่ต้องเอาออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอขายกองทุน (ซึ่งจริงๆ แล้วเราก็ควรหาประกันสุขภาพเอาไว้นะ แหะๆ)
  3. เงินเที่ยว เราจะแบ่งเก็บไปเลยเป็นก้อนต่อเดือน แล้วก็เลือกเอาว่าจะไปเที่ยวที่ไหน อยู่ในงบมั๊ย เพราะเราเชื่อว่าทำงานมาเหนื่อยๆ ก็ต้องหาเวลาไป recharge บ้าง ไปเห็นโลกบ้าง
  4. เงินใช้ชีวิต ก็คือเก็บไว้ใช้ในชีวิตประจำวันนั้นหละ ซื้ออาหาร ช้อปปิ้งอะไรก็ว่าไป

แนะนำว่าให้แบ่งเก็บตั้งแต่ได้รับเงินมาเลยนะคะ จะได้ไม่ใช้เงินเพลินจนไม่เหลือเก็บ 😉

ที่นี้ habit หรือ นิสัยต่างๆ ที่ทำให้เราใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย บวกกับการตลาดขั้น advanved ที่มาหลอกเงินในกระเป๋าของเราออกไปอยู่เรื่อยจนบางที เราก็เห็นเพื่อนของเราต้องทานมาม่าในช่วงสิ้นเดือน (สิ้นใจ) อยู่บ่อยครั้ง

 bart simpson episode 4 season 12 empty broke GIF
From: simpsonsworld.com

เราต้องมีกลยุทธ์ในการใช้เงินค่ะ! 

หูยย…ดูยิ่งใหญ่

คำถามแรก สิ่งนี้เป็นเพียงสิ่งที่ “จำเป็น” กับชีวิตเราหรือไม่?

คำถามที่สอง นี่เป็นเพียงแค่ความรู้สึก “อยากได้” หรือเปล่า?​

โดยมากแล้ว โดยเฉพาะ เพศหญิงอย่างเจ้าของ blog นั้น ได้ผ่านการใช้เงินแบบไม่คิด ไม่ยับยั้งชั่งใจมาค่อนข้างเยอะ ตกเป็นเหยื่อการตลาด (ทั้งๆ ที่มีใบปริญญาทางด้านการตลาด และ จิตวิทยามา ฮ่าๆๆๆ) อยู่บ่อยครั้ง จนเราได้มารู้จักกับ concept ของความ minimal ที่ในบ้านของชาว minimal นั้นจะมีเพียงสิ่งของที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต และ อุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต่อการทำงานเท่านั้น ที่เหลือคือ บริจาค ขายต่อ หรือ โละทิ้งให้หมด!

Image result for minimalist home
From: https://homeadore.com/2016/07/13/minimalist-house-tukurito-architects/

ของทุกอย่างที่เจ้าของบ้านจะเอาเข้ามาในบ้านต้องจำเป็นจริงๆ ไม่ทำให้บ้านรก และต้องได้ใช้จริงๆ ซึ่งเราเองก็นำมาปรับใช้บ้างในเรื่องของ การคิดก่อนซื้อ ด้วยวิธีการดังนี้ค่ะ

เห็นแล้วอย่าเพิ่งซื้อ
ให้เอากลับไปนอนคิดสักวันสองวันก่อน (หรือจะนานกว่านั้นก็ได้) ถ้าความรู้สึกที่เราอยากมีมันค่อยๆ หายไป สิ่งนั้นอาจจะไม่จำเป็นกับเราจริงๆก็ได้

ข้อดีก็คือ เงินอยู่ครบ! และบ้านไม่รก เย้!!!!

แล้วยิ่งของบางอย่างที่เพื่อนๆ ของเรานิยมใช้ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า กระเป๋าดีไซน์เนอร์ราคาแพง หรือ gadget ต่างๆ เราต้องมองกลับมาที่ตัวเราว่าจริงๆ แล้วเราจะได้ใช้มั๊ย เราจะหยิบมันขึ้นมาใช้แต่ 1 เดือน แล้ววางมันอยู่บนชั้นเก็บของจนฝุ่นจับมั๊ย?​

ความอยากที่จะช้อปปิ้งของคนเรามาจากไม่กี่อย่างหรอกค่ะ เราจะยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพนะคะ

  1. สภาพจิตใจไม่ปกติ เช่น เครียด อกหัก รักคุด ตุ๊ดเมิน
    เคยได้ยินคำว่า shopping therapy มั๊ยคะ เรามักจะถูกเพื่อนสาวชวนไปช้อปปิ้งหรือออกไปดื่มช่วงที่เราไม่ค่อยโอเค แล้วเราก็จะใช้เงินเยอะจนลืมตัว รูดปรื๊ดๆ!
  2. พ่ายแพ้ต่อป้าย SALE และ กลยุทธ์การตลาด
    ป้าย Sale ตามร้านค้า ตามห้าง เนี่ยแหละค่ะ ตัวดี เคยได้ยินบางคนที่ชอบช้อปปิ้งมากๆมักจะบอกว่า พอซื้อของลดราคา หรือว่า ซื้อของแบบเดียวกัน แต่ราคาถูกว่าเพื่อน เหมือนรู้สึกว่า “ชั้นชนะ!” แต่เงินในกระเป๋านี่แพ้ราบคาบเลยนะยูว์​ ระวังด้วยค่ะหล่อน!

แล้วหลังจากเสียเงินล่ะ เป็นอย่างไรกัน?

From: https://www.theodysseyonline.com/shopaholic-problems

วันแรก ที่ซื้อพอเอาของออกมาก็จะรู้สึกชื่นชม รู้สึกฟินหนักมาก รู้สึกว่าอารมณ์ที่ เครียด เศร้า และ down หายไปชั่วขณะ ย้ำว่าชั่วขณะเท่านั้น! แล้วอารมณ์และสภาพจิตใจของเราก็จะกลับเข้าสู่สภาวะเดิมอย่างรวดเร็ว เร็วขนาดที่ว่าบิลบัตรเครดิตยังเดินทางมาไม่ถึงบ้านเลยนะยูว์ ดังนั้น การเข้าสู่โหมด Shopping Spree เป็นการแก้ปัญหาเพียงชั่วคราวเท่านั้น

ความสุขต้องเริ่มที่ตัวเรานะคะ ไม่ใช่วัตถุ

เวลาผ่านไป ของบางอย่างที่เราคิดว่าเราชอบ อาจจะถูกวางอยู่ในตู้ใดตู้หนึ่งในบ้าน แล้วเราไม่ได้หยิบมันมาใช้อีกเลย กลายเป็นของรกบ้านไปซะงั้น เอาออกไปขายก็ใช่ว่าจะได้ราคาดี ราคาของใช้ต่างๆ เมื่อถูกนำไปใช้แล้ว มักจะไม่มีมูลค่าเลยนะคะ นอกเสียจากว่าของที่เราซื้อมามีมูลค่าในตัวมันเอง เช่น ทองคำ กระเป๋าดีไซน์เนอร์ที่เหล่าสาวตามล่ากันเช่น Louis Vuitton, Hermes, หรือ Chanel แถมต้องเป็นรุ่นที่เค้าล่ากันด้วยนะ  และกว่าที่เราจะหาคนมาซื้อของมือสอง ราคาเป็นหมื่นเป็นแสนมันก็ไม่ได้ง่ายนะคะ

Image result for confessions of a shopaholic credit card sceneเราไม่สนับสนุนให้คนเป็นหนี้จากการใช้จ่ายโดยไม่ยั้งคิดค่ะ ไม่งั้นจะมีสภาพเป็นแบบในหนัง Confession of a Shopaholic นะคะคุ๊ณณณ! และอย่าอ้างว่าตอนสุดท้ายนางเอาของไปขายได้ ในความเป็นจริงแล้วทุกคนก็ไม่ได้โชคดีแบบนางนะคะ เรามองทุกอย่างจากความเป็นจริง หรือที่เรียกว่า Realist นั่นเอง

ดังนั้นก่อนจะใช้เงิน เราขอแนะนำว่าให้คิดก่อน จำเป็นมั๊ย เอากลับไปนอนคิด ถ้าอยากได้จริงๆกลับมาของที่เราอยากได้ก็ไม่น่าจะหายไปไหน

ข้อดีของการใช้หลักการคิดแบบ Minimalism บวกกับ lifestyle ของ มนุษย์ฟรีแลนซ์​ อย่างเราถือว่าเหมาะสมกันดีค่ะ ถ้าใครอยากจะนำไปปรับใช้กับตัวเองเราก็ไม่หวงเลยค่ะ

ว่าด้วยเรื่องวินัยของมุนษย์ฟรีแลนซ์ (ตอนที่ 2)

จากที่เราได้พูดไปแล้วว่าสุขภาพนั้นสำคัญแค่ไหนสำหรับมนุษย์ที่เลือกทางเดือนชีวิตมาสายฟรีแลนซ์ ถ้าหากว่าสุขภาพไม่ดี ป่วยบ่อยๆ หรือว่า ดูแลตัวเองได้ไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากสุขภาพจะแย่แล้ว ยังไปทำงานไม่ได้อีกด้วยนะ พอไม่มีงานเราก็จะมีความลำบากเล็กน้อยและต้องมีการพึ่งบุญเก่าบ้าง มนุษย์ไร้ซึ่งเงินเดือนประจำอย่างเราๆ ก็ต้องรักษาสุขภาพกายและใจให้ดีที่สุดเนอะ

ถัดมา ก็ต้องมีวินัยในเรื่องของงาน และ การเงินอีกด้วยนะคะ วันนี้ เราจะมาเน้นเรื่องการงานกัน ซึ่งถือว่าตอนนี้เราอินมาก เพราะว่าต้องบินมาเรียนคอร์สเกี่ยวกับการสอนบัลเล่ต์โดยตรงที่สิงคโปร์​ (ตอนนี้พิมพ์อยู่ เรานั่งอยู่ในสนามบิน Changi กำลังจะกลับไทย)

สาเหตุที่เรายกให้เรื่องงานมาเป็นอันดับสองต่อจากสุขภาพก็อย่างที่บอกไปนั่นหละค่ะ เราถือว่าถ้าเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี เราก็จะมีแรงไปทำงานได้และมีความสุขกับการทำงาน ทำให้คนที่ทำงานร่วมกับเรา หรือถ้าเป็นเคสของเราก็คือ นักเรียนก็จะได้มีความสุขเวลาเรียนไปด้วย เพราะ ถ้าเราอารมณ์เสีย เหมือนคนประจำเดือนมาตลอดเวลาก็คงไม่ไหวเนอะ 😛

การที่เราออกมาทำงานเป็นมนุษย์ฟรีแลนซ์แบบนี้ ทำให้เราต้องมีวินัยมากขึ้นกว่าเดิม เพราะว่า ถ้าเราทำงานออกมาไม่ดี ลาบ่อย ป่วยบ่อย ส่งงานไม่ทันเวลา หรือ ไปสายเป็นงานอดิเรก คนที่จ้างเราก็คงจะไม่ปลื้มเป็นแน่ และอาจจะมีการบอกต่อในวงการทำให้ branding ของตัวเราเองเสียอีกด้วย เราบอกกับเพื่อนเราเสมอว่า ผลงานของฟรีแลนซ์แต่ละคนก็ถือเป็น branding ของคนๆนั้น เวลาเรียน marketing ตัวแบรนด์หรือยี่ห้อหนึ่งๆ มันจะมีสิ่งที่เรียกว่า brand association ก็คือ สิ่งที่คนจะนึกถึงเวลามีคนพูดถึงชื่อแบรนด์นั้นๆ เช่น Starbucks เราก็จะนึกถึงกาแฟโลโก้สีเขียวที่มีความพรีเมี่ยมรวมไปถึงกลิ่นหอมของกาแฟในร้านและเสียงเพลงเบาๆที่เปิดในร้าน ซึ่งตามหลักแล้ว เวลาพอมีคนพูดถึงเรา เราก็คงไม่อยากให้คนมองว่า อ๋อ คนที่มาสายบ่อยๆอะหรอ สอนท่าเต้นเด็กผิด เทคนิคไม่ดี ถูกมั๊ยคะ 🙂

โดยมากสิ่งที่เราทำเพื่อที่จะสร้างแบรนด์ของตัวเองให้คนนึกถึงเราในทางที่ดี และอยากจะแนะนำเราให้กับคนอื่นๆ อันดับแรกคือ

เราจะต้องไม่ไปสายค่ะ

กรุงเทพเป็นเมืองที่โค-ตะ-ระ ติด ติด ติด มากกกกก​ (ก.ไก่ล้านตัว) ดังนั้น ถ้าเรารู้อยู่แล้วเราจะต้องเผื่อเวลาออกจากบ้านค่ะ ไม่ใช่ว่าไปถึงสาย วันละ 5 นาที 10 นาที แล้วบอกกับเจ้าของโรงเรียนบัลเล่ต์ว่า

“ขอโทษค่ะ รถติด”

แบบนี้ไม่ได้ค่ะ (นอกจากว่ามีอุบัติเหตุ หรือ รถติดวินาศสันตะโรแบบ 4-5 ชม. ที่เคยติดช่วงปีที่แล้วก็อีกเรื่องนึง) ถ้าเรารู้อยู่แก่ใจว่ากรุงเทพนั้นคู่กับการรถติด by default แล้วนั้น…คำว่า “ขอโทษค่ะ รถติด” นั้นถือว่าแก้ตัวไม่ขึ้นนะคะ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเผื่อเวลาออกจากบ้านค่ะ

การไปถึงเวลาพอดีเป๊ะ นั้นถือว่าโอเค ไม่แย่ แต่อาจจะมีการล่กได้ เพราะการที่เราเป็นครูสอนบัลเล่ต์ไปถึงต้องมีการเปลี่ยนชุด ทำผม ใส่ร้องเท้า เข้าห้องน้ำซะให้เรียบร้อยก่อนที่จะเข้าสอน ไม่ใช่ว่าล่กๆมา ไม่ใส่รองเท้าบัลเล่ต์ ผมเผ้ากระเซอะกระเซิง ดูลนๆ หน้าเหวอๆ ก็ดูไม่ดีในสายตาผู้ปกครอง (+หน้าดูไม่สวยด้วย) 

อีกอย่างอย่างเราที่เป็นครูก็ต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนักเรียน ไม่งั้นเดี๋ยวจะเจอนักเรียนตัวแสบบางนางย้อนกลับว่า “ทีคุณครูยังทำได้เลย” อายเด็กน้าา ไม่เอาคะ ไม่เอา No ค่ะ นอกจากนี้คำพูดที่พูดออกไป ก็ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดีก่อนพูดนะคะ พูดจาไม่เพราะ หรือ เผลอหลุดอะไรออกไปโดยที่เราไม่ทันได้คิดก็อาจจะงานเข้าได้เช่นเดียวกัน (เป็นครูนี่ไม่ง่ายเลยจริงๆ 😅) 
ถัดมาก็ต้องอยู่ที่ การสอน ของเราค่ะ ในนี้เราคงจะไม่บอกว่าต้องสอนอะไรยังไงบ้างเนอะ เพราะมันมีศัพท์เฉพาะมากมาย เราจะมาพูดถึงการเตรียมตัวค่ะ การสอนบัลเล่ต์ไม่ว่าจะเป็นของระบบใดก็ตาม อังกฤษ อเมริกัน หรือ รัสเชี่ยน แต่ละเกรด หรือ ระดับชั้น ก็จะมีท่า set กำหนดมาค่ะ มันเป็นสิ่งที่เราเคยเรียนมาก็จริง แต่ถ้าเราไม่คอยทวนท่าไว้ตลอด เราก็จะลืมค่ะ  เพราะว่าความทรงจำของเราในเรื่องต่างๆ ถ้าเราไม่ค่อย ทบทวนอยู่เรื่อยมันก็จะค่อยๆลืมไปค่ะ เหมือนคนที่เล่นกล้ามเป็นประจำ พอไม่ได้ยกเวทนานๆ หรือ หยุดเล่นกล้ามก็จะฟีบนั่นแหละค่ะ ความทรงจำของคนเราก็จะเป็นประมาณนี้ 👍

เป็นครูต้องเข้าใจ จำ และเต้นทุกท่าที่อยู่ในหนังสือให้ได้ 🤓

จริงๆแล้ว คุณครูจะมีหนังสือ syllabus ที่บอกว่าท่า set ต่างๆประกอบไปด้วยท่าอะไรบ้าง แต่เราจะมายืนอ่านหนังสือแล้วบอกท่าให้เด็กๆ เต้นตามไม่ได้ค่ะ เพราะ 3 ข้อหลักๆ

ข้อที่ 1 เด็กจะเบื่อ

ยิ่งกับเด็กเล็กๆนี่ไม่ได้เลยนะคะ เราต้องทำให้คลาสสนุก ไม่เบื่อ และก็ต้องสอนเรื่องเทคนิคการเต้นที่ถูกต้องให้กับเด็กๆ อีกอย่างคือถ้าเราก้มอ่านหนังสือเพื่อดูท่าสำหรับสอนแล้ว Ballerina น้อยในชุดชมพูของคุณครูก็จะกลายร่างเป็นลิงใส่ชุดบัลเล่ต์แทนค่ะ 🐵 ต้องจับลิงให้เข้าที่อีก (ครูก็จะได้ไม่เหนื่อย)

ข้อที่  2 ผู้ปกครองไม่เชื่อใจ

การที่ผู้ปกครองส่งลูกมาเรียนบัลเล่ต์ที่โรงเรียน เค้าก็ต้องมั่นใจระดับนึงว่าโรงเรียนนี้ดี คุณครูเก่ง แต่ลองนึกภาพสิคะ ครูยืนอ่านหนังสือสอนเต้นบ่งบอกอะไรได้เยอะนะคะ ในเรื่องของ professionalism และ อาจจะถูกมองว่าไม่ใส่ใจลูกเค้าด้วยนะ เพราะถ้าเด็กวิ่งเล่นกันเองแล้วล้มในระหว่างที่เราก้มอ่านหนังสือเพื่อดูว่า เอ๊ะท่านี้ไม่เต้นยังไงนะ  ก็จะดูแย่ไปอีก ถือว่าเราละเลยไม่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของเด็กไปอีกด้วยค่ะ

ข้อที่ 3 บอสไม่ปลื้ม

อันนี้เปรียบเทียบได้กับเวลาคน present งานแล้วยืนอ่าน slide นั่นแหละค่ะ ถ้าเราเตรียมมาสอนจริงๆ เราต้องรู้ว่าเราจะให้เด็กๆทำอะไร ไม่ใช่ว่ามายืนอ่านท่าให้เด็กฟัง แบบนี้เจ้าของ รร. สอนเองเค้าอาจจะ happy กว่านะเอ้อ…

ดังนั้นถ้าเราเจอท่าที่เราจำไม่ได้ เราต้องเตรียมตัวค่ะ ดู video อ่านหนังสือเพื่อเก็บรายละเอียดไปให้พร้อมก่อนสอน ไม่งั้น branding เราจะเสียเอาซะง่ายๆเด้ออ 

เราพูดถึงเรื่องก่อนสอน ตอนสอนไปแล้ว สุดท้ายเราจะพูดถึงเรื่องสิ่งที่อยู่นอกห้องเรียนกันบ้างเนอะ เราเองจะค่อนข้างระวังการใช้ social media มากๆ เราจะไม่รับ add นักเรียนเลยเพราะเราถือเป็นเรื่องส่วนตัวของเรา และ เราอยากให้นักเรียนรู้จักเราในฐานะ ครู เท่านั้น ไม่งั้นถ้าหากนักเรียนมาเห็นใน FB หรือ Instagram ว่าเราไปไหนมาไหนตลอดเวลา มีการไปสังสรรค์เจอเพื่อนบ้าง หรือ การคอมเม้นต์ระหว่างเรากับเพื่อนๆ ของเราที่เฮฮาตามประสาคนวัยเดียวกัน ที่อาจจะไม่ได้พูดเพราะสักเท่าไหร่ บวกกับเราไม่อยากเป็นข้ออ้างให้กับเด็กเพื่อเอาไปเลียนแบบแล้วโดนคุณพ่อคุณแม่ถามว่า “ไปเอาพฤติกรรม หรือ นิสัยแบบนี้มาจากไหน?!” แล้วสุดท้ายเด็กตอบว่า…”ทีคุณครูยังทำแบบนี้เลย” ที่นี้งานเข้าเต็มๆเลยนะคะท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย 😨 ไม่งั้นเค้าจะมีประโยคที่เปรียบเปรยว่า “ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ” ไว้ทำไมล่ะคะ  อีกอย่างก็คือ พอเวลาเด็กรู้สึกว่ารู้จักเรามากขึ้นจากการมาส่อง social media ของเรา ความเกรงใจซึ่งกันและกันมันจะน้อยลงนะคะ สอนกันยากไปอีก! 

ดังนั้น ส่วนตัวของเราเองแล้ว *ย้ำว่าส่วนตัว* เราจะไม่รับแอดจนกว่าเด็กคนนั้นจะเรียนจบไปแล้ว เพื่อที่จะ keep in touch เท่านั้นเอง เหมือนว่าเราจะหัวโบราณนะ แต่เราเองก็อยากจะมี space ของเราด้วยนั่นเอง และ เป็นการ protect ความผิดพลาดต่างๆ ที่ได้บอกไปนั่นแหละค่ะ

อาย 😶

ดังนั้น การที่คนๆนึง เต้นสวย เต้นเก่ง ถือว่าไม่พอสำหรับการเป็นครูสอนบัลเล่ต์ค่ะ ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง นักเรียน ผู้ปกครอง และโรงเรียนที่สอนอยู่ด้วยเนอะ เราคิดว่าไอเดียนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้สำหรับทุกอาชีพเลยน้า

เราขอพอแค่นี้ก่อนสำหรับเรื่องของ วินัยในการทำงาน อันถัดไปจะน่าสนใจมากเพราะเราจะมาพูดถือเรื่องวินัยของการใช้เงิน 💰💵💸 สำหรับมนุษย์ฟรีแลนซ์กันเด้ออออ 😀

ว่าด้วยเรื่องวินัยของมนุษย์ฟรีแลนซ์ (ตอนที่ 1)

จากโพสต์อันก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงว่าการเป็นฟรีแลนซ์ต้องมี “วินัย”

เราจะขอจำแนก “วินัย” ออกมาเป็น 3 เรื่องด้วยกันค่ะ

สุขภาพ

การงาน

การเงิน

ขอเริ่มไปทีละอันเลยน้าา

สุขภาพ

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เราออกไปทำงานได้ก็คือ “สุขภาพ” ค่ะ เราต้องคอยดูแลเรื่องอาหารการกิน พักผ่อนให้เพียงพอ รวมไปถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พูดซะเหมือนแกะออกมาจากบล็อคออกกำลังกายเลย แต่เห้ย! มันคือเรื่องจริงนะคะ ไอ้คำพูดที่ดูเชยๆ เนี่ยแหละ มันถูกที่สุดแล้วเธอ (ไม่งั้นจะพูดกันตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายมาจนถึงทุกวันนี้หรอ?)

ขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรง ถึงแม้ว่าแอดจะสอนบัลเล่ต์เด็กๆ หลายวันต่ออาทิตย์ แต่มีอยู่ช่วงนึง แอดป่วยบ่อยมากกกกก เพื่อนๆ ก็งงก็สิ
*จินตนาการเสียงสองค่ะ*

“สอนเต้นก็เหมือนออกกำลังกายไม่ใช่หรอ? ทำไมเธอถึงป่วยได้?”

*กลับมาที่เสียงจริง*

เราก็คนนะ! (ล้อเล่นนนน)
มันมีหลายปัจจัยค่ะ อาทิ เด็กป่วยแล้วมาเรียน (อันนี้เลี่ยงไม่ได้จริงๆ ทำได้แค่ให้เด็กใส่หน้ากากเข้ามาเรียน) เราเองนอนไม่พอ และ การสอนไม่ใช่การเต้นตลอดเวลาเหมือนเวลาเราไปเรียนเต้นนะคะ คุณครูมีหน้าที่เป็นคนสอน คือเราเต้นให้เด็ก คอยแก้ท่าและดูว่าเด็กทำท่านั้นได้อย่างถูกต้องรึเปล่า เพราะฉะนั้นมันคือการพูด มากกว่าการเต้น (ถ้าเต้นตลอด แล้วใครจะดูเด็กล่ะค๊าาาา จริงมั๊ย?)

เพราะฉะนั้น เราควรจะหาเวลาออกไปออกกำลังกายของเราเองด้วย เราเองไม่ชอบการไปฟิตเนส เพราะมันไม่ถูกจริต เราก็มีการออกกำลังกายด้วย exercise จากท่าบัลเล่ต์ที่เราไปสอนเด็กเนี่ยหละ แต่ intensity สูงกว่า ให้เวลามากกว่า ทำให้สม่ำเสมอบวกกับการออกไปเดินออกกำลังกายและไปวิ่งบ้างThingsthatmatter_Discipline01_4

อาหารเองก็สำคัญต้องเลือกทานนิดนึง แต่ก็ไม่ถึงกับว่าต้อง eat clean ขั้นสุด อกไก่ ไข่ขาว งดแป้ง ไร้ไขมัน แต่ก็ดูให้สัดส่วนของอาหารแต่ละวันให้ได้ครบ 5 หมู่

คำถาม (ขอคิดเผื่อผู้อ่านเลยนะคะ ฮ่าๆๆ) แล้วเราทานขนมถุงกับ fast food มั๊ย?

ทานสิคะ จะเหลือหรอ ฮ่าๆๆ แต่!!! นานๆ ครั้งจะไปซื้อมาทาน ประมาณเดือนละครั้ง แต่จะไม่ค่อยเอาขนมถุงเก็บไว้ที่บ้านนะ ไม่งั้นถ้าเห็นก็จะไปหยิบมาทานจนมันหมดนั่นแหละ

Thingsthatmatter_Discipline01_2.jpg

ถัดมาคือการพักผ่อน ด้วยความที่เป็นคนชอบหางานให้ตัวเอง (ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องปรับปรุงตัวเอง) ก็แปลว่า จะต้องเจียดเวลาพักผ่อนมาทำงานบ้าง และ binge watching Netflix คือการดู series อย่างต่อเนื่องจนลืมเวลานอน ทำให้เราตื่นมาอีกวันแล้วง่วงตลอดเวลา ทีนี้แหละ มันก็จะกลายเป็นวงจรอุบาทว์ของมนุษย์ยุคดิจิตอล ที่ไม่ต้องรออะไรเลย

สำหรับมนุษย์ที่เกิดก่อนปี 2000 ทุกท่าน ลองคิดดูน้าา ตอนเราเด็กๆ กว่าเราจะได้ดูการ์ตูนอีกตอน เราต้องรออีกสัปดาห์สำหรับตอนต่อไป (เป็นการบ่งบอกอายุเบาๆ แหะๆ) เทียบกับวันนี้ ที่เราเปิด YouTube หรือ Netflix หรือ จะโหลดเอา (ไม่สนับสนุนให้ดาวน์โหลดอย่างผิดกฎหมายเด้อออ) แล้วก็ดูจนเกือบจะเช้ามันก็ไม่ไหวไง เราเองก็เริ่มปรับปรุงตรงนี้ด้วยการ วางโทรศัพท์ให้มันอยู่ไกลๆเตียงหน่อย และใช้ประโยชน์จากเวลาว่างที่มีเพิ่มขึ้นในการอ่านหนังสือที่เราชอบ ส่วนตัวแล้วแอดชอบพวก fiction มากกว่าหนังสือที่มีประโยชน์เชิงวิชาการ 😛 แล้วก็เปลี่ยนจากการส่อง FB และ IG ชาวบ้าน มาให้เวลากับตัวเองก่อนนอนด้วยการอ่านหนังสือค่ะ

Thingsthatmatter_Discipline01_1.jpg
ทีนี้ หนังสือช่วยได้จริงหรอ ตามงานวิจัยเกี่ยวกับการอ่านหนังสือก่อนเวลานอนเพียงแค่ 6 นาที ก็สามารถทำให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น และดีกว่าการฟังเพลง หรือ ดื่มชาอุ่นๆก่อนนอนซะอีกนะ เพราะการอ่านหนังสือเพียง 6 นาที ก็ช่วยลดความเครียดของผู้อ่านได้ (ขอใช้ความรู้จากที่ไปเรียนจิตวิทยามาจากแดนไกลมาแชร์ให้ฟังกันนิดนึงนะค้าา)

“แล้วถ้าติดหนังสือจนไม่ยอมวางล่ะ?!”

ก็ช่วยลดความเครียดได้อยู่ดีค่ะ เพราะว่า เวลาเราอ่านหนังสือ (โดยไม่มีการรบกวนจากอุปกรณ์สื่อสารของท่าน)  เราจะโฟกัสที่หนังสือแล้วไม่ได้คิดถึงเรื่องเครียดๆที่เราได้เจอมาในวันนั้นๆ พอเราไม่เครียด สมองเราก็ไม่ต้องทำงานหนัก พอสมองไม่ทำงานหนักเราก็จะหลับได้ง่ายขึ้นค่ะ เปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนเวลาคุณพ่อคุณแม่เล่านิทานให้เราฟังตอนเด็กๆ เลยค่ะ เด็กก็จะตั้งใจฟังนิทานที่คุณพ่อคุณแม่เล่า และได้อยู่ในโลกของจินตนาการนั้น ทำให้ลืมไปว่าจะต้องนอนแล้ว ทั้งๆที่ยังอยากจะเล่นของเล่น หรือ ดูทีวีอยู่นั่นแหละค่ะ 🙂

“ก็เหมือนดู series ไม่ใช่หรอ?”

ความเหมือนที่แตกต่างค่ะ ต่างตรงที่อุปกรณ์ที่คุณใช้ เพราะ หน้าจอ smart phone tablet หรือ laptop ที่คุณใช้ดูมันมีแสงออกมา ทำให้ร่างกายคุณคิดว่าเวลาที่คุณดู series อย่างเพลิดเพลินนั้นเป็นเวลากลางวันอยู่ค่ะ ร่างกายเลย alert อยู่ตลอดเวลา ก็เลยทำให้นอนไม่หลับ หรือ หลับไม่สนิทนั่นเองค่ะ 😉

พอเราได้ทำสิ่งที่เรารัก และ มีสุขภาพที่ดี พักผ่อนเพียงพอแล้ว เราจะได้ไม่ต้อง cancel งาน และไม่ตื่นสายตอนออกไปทำงานที่เรารับไว้ไง!

อ้างอิง 

James, G. (2016). Why Reading Before Bed Could Improve Your SleepHuffington Post.
Retrieved 25 July, 2017, from http://www.huffingtonpost.co.uk/entry/why-reading-before-bed-could-improve-your-sleep_uk_57d7d80ce4b00f7417346e28 

Introduction: เรื่องราวทั้งหมดมันเป็นอย่างนี้ล่ะค่ะ (ภาคถัดมา)

 

thingsthatmatter_2ndintro

เมื่อออกมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง ที่เราไม่ได้มีตำแหน่งเหมือนเมื่อเดือนที่ผ่านมา เราก็จะได้รับคำถามมากมายไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พี่ น้อง หรือแม้กระทั่งคนที่ไม่ได้คุยกันมาเป็นเวลานาน

คำถามภาคบังคับจากคนหมู่มากก็คือ:

“ทำไมถึงออกล่ะ?” และ “แล้วจะทำอะไรต่อ?”

ขออนุญาตตอบคำถามทีละคำถามค่ะ

“ทำไมถึงออกล่ะ?”

เราอยากจะทำงานที่ตัวเองรักจริงๆ ดังนั้น การที่เราจะต้องไปทำงานแล้วเอาเวลาไปทุ่มให้กับองค์กร โดยที่เวลาส่วนตัวของเราหายไป สุขภาพกายและใจของเราก็ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ สำหรับเราเอง เมื่อเอาสิ่งนี้มา คิด วิเคราะห์ แยกแยะ แล้วมันไม่คุ้มกัน บวกกับเราได้เริ่มเส้นทางของการสอนบัลเล่ต์นี้ตั้งแต่เป็นครูผู้ช่วย ได้เงินค่าขนมเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นเงินเก็บไปซื้อของฟุ่มเฟือยที่เราอยากได้โดยไม่ต้องรบกวนคุณพ่อคุณแม่มาตั้งแต่ม.ปลาย จนมาถึงวันที่เงินของการสอนมันเริ่มที่จะมากพอจนทำให้เราอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อนและเราก็รักในอาชีพจริงๆ บวกกับการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนอยู่หลายเดือน ความคิดและแพลนต่างๆ ก็เลยตกผลึกออกมาอย่างคร่าวๆ ว่าเราอยากจะทำอะไร จนในที่สุด จึงได้ตัดสินใจเอาตัวออกมาจาก corporate life เพื่อที่จะออกมาทำสิ่งที่อยากทำได้อย่างเต็มที่หลังจากแบ่งรับแบ่งสู้มาสักพักใหญ่ๆ

สำหรับคนที่อ่านมาจนถึงตอนนี้ เราจะแจกแจงก่อนนะคะว่า เราไม่ได้สนับสนุนให้ทุกคนออกจากงานประจำเพื่อมาเป็นฟรีแลนซ์อย่างเรานะจ๊ะ

เหรียญมีสองด้านฉันใด อาชีพฟรีแลนซ์ก็มีสองด้านฉันนั้น

เอาเรื่องหลักๆก่อน ข้อดี คือ เราตื่นมาแล้วก็อยากจะไปทำงาน สุขภาพกลับมาดีเหมือนเดิม และสภาพจิตใจดีขึ้นมากๆ ความขี้กังวลต่างๆหายไป ไม่ต้องฝ่ารถติดวันละหลายๆชั่วโมง เพื่อที่จะไปนั่งอยู่ในออฟฟิศหนาวๆ เอ้า…ก็ดีนี่นา มีแต่คนมาแซวว่า “ออกจากที่นี่ไปแล้ว ดูแจ่มใส ชีวิตดี”

หยุดความคิดนั้นก่อนค่ะคุณๆทั้งหลายคะ

ข้อเสียของฟรีแลนซ์ก็คือ ความไม่แน่นอนของรายได้ ไร้ซึ่งสวัสดิการ ถ้าป่วยหรือหยุดงาน ก็หมายถึงรายได้วันนั้นของคุณก็จะหายไปด้วยเช่นกัน หรือถ้าวันนึงคนที่จ้างเราตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับเรา แปลว่ารายได้ของเราจะหายไปในทันที และถ้าอยากจะลาหยุดไปเที่ยว นอกจากจะไม่มีรายได้ตามจำนวนวันที่ไปเที่ยวแล้ว แกยังต้องเสียเงินค่าไปเที่ยวอีกนะ!

ซึ่งทำให้เราต้องมาตอบคำถามภาคบังคับหลังจากการออกจากงานอันถัดมา

“แล้วจะทำอะไรต่อ?”

แน่นอนว่าเราตอบคนอื่นว่าเราไปสอนบัลเล่ต์ และจะไปเรียนเพื่อเอา ballet teaching certificate ที่รับรองจากอังกฤษ  หลังจากที่หาข้ออ้างให้กับตัวเองมาตลอดว่า ไม่มีเวลา งานยุ่งมากๆ มาเป็นระยะเวลาหลายปี นี่ก็ถือเป็นฤกษ์งามยามดีที่จะได้เริ่มทำอะไรที่ตัวเองอยากจะทำสักที ความตั้งใจของการเรียนนี้ก็เพื่อที่จะเป็นใบเบิกทางให้กับอาชีพใหม่ของเราเนี่ยแหละ และเราก็ตั้งใจไว้ว่าเราจะจ่ายเงินค่าเรียนเองทั้งหมด!

เอาล่ะสิ ตอบคนอื่นตอบอะไรก็ได้ไง แต่ตอนนี้เธอช่วยตอบตัวเองด้วยว่าเธอจะหาเงินมาจ่ายยังไง????

ค่าเรียนแพงไปอีก! โชคดีที่เป็นคนไม่ชอบอยู่นิ่งๆ (workaholic สามารถใช้ได้กับคนทุกอาชีพนะคะ) เราก็มีโอกาสได้ไปทำงานเป็นพนักงาน part-time ให้กับองค์กรเพื่อการศึกษาอยู่สักพักนึง เพราะว่าการที่เราจะหางานสอนเพิ่มในระยะเวลาอันสั้น มันก็ไม่ได้ง่ายเลย  ระหว่างนั้นเราก็ร่อน resume หรือ CV เพื่อสอนบัลเล่ต์ตามโรงเรียนนานาชาติต่างๆไว้เพียบ น่าจะ 30 โรงเรียนได้ในช่วงระยะเวลา 2 เดือนได้การตอบรับว่า มีครูอยู่แล้ว อีเมลอัตโนมัติว่าได้รับ resume แล้ว และ ไม่ได้การตอบอะไรเลย

จิตตกเบาๆ

แล้ว “เรา” จะทำอะไรต่อไป? เพื่อที่จะไม่ต้องขอเงินคุณพ่อคุณแม่มาเรียนอีก จนวันนึง ก็มี 1 โรงเรียนติดต่อมาว่า เราเห็น resume ของคุณแล้ว profile น่าสนใจมาก แต่ตอนนี้เรามีครูบัลเล่ต์ที่มาสอนนักเรียนของเราเป็นประจำอยู่แล้ว คุณสนใจที่จะมาทำmarketingให้โรงเรียนเรามั๊ยล่ะ? เพราะคุณเองก็มีประสบการณ์ด้านนี้มาพอสมควร

นั่งคิดสักพัก ก็อีเมลกลับไปว่า เรายินดีที่จะเข้าไปคุยกับคุณที่โรงเรียน เรามีข้อแม้ว่าเราขอเป็น part-time ทำงานได้แค่ 3 วันต่อสัปดาห์นะ เราก็อยากจะรู้เหมือนกันว่า อย่างเราที่ให้ข้อเสนอแบบที่คนอื่นเค้าไม่ค่อยทำกันจะมีคนยอมรับได้หรือไม่

มีค่ะ เราเข้าไปคุย ถูกสัมภาษณ์ และสัมภาษณ์เจ้านาย part-time ในอนาคต ดูสภาพแวดล้อมและทัศนคติของเจ้าของโรงเรียนซึ่งมันไปกันได้ เราใช้เวลาไม่นานที่จะตอบตกลงเพื่อเริ่มงานนี้

ถึงตอนนั้นเรามีงานทำ 5 วันต่อสัปดาห์แล้ว แต่วันหยุดที่มีที่คนอื่นเค้าเรียกกันว่าวันหยุดสุดสัปดาห์ คือวันทำงานของเรา แล้วเราก็มาหยุดวันธรรมดาแทน แต่พอระยะเวลาเวลาผ่านไปเรื่อยๆ เราก็ไม่หยุดที่จะมองหาโอกาส ใครที่เปิดโรงเรียนสอนเต้น เราจะเข้าไปถามทันทีว่าต้องการครูมาสอนที่โรงเรียนอีกแรงมั๊ย เราก็เลยได้งานสอนมาเพิ่มอีกหนึ่งวัน บวกกับมีการ request จากผู้ปกครองที่เราสอนประจำทุกวันอาทิตย์ว่าอยากจะให้ลูกเรียนเพิ่มอีกหนึ่งวัน เราก็จัดให้

สรุป…เรามีงานสอน 4 วัน ทำ marketing อีก 3 วัน ครบ 7 วัน! ข้อแตกต่างก็คือ เรามีเวลาให้ตัวเองมากกว่าตอนที่ทำงานบริษัท เพราะ งานสอนที่เพิ่มมาอีกสอนวันนั้น เราทำแค่ช่วงเย็น แปลว่าเราตื่นสายได้ ไปเดินห้างได้ในวันธรรมดาที่ไม่ต้องเบียดเสียดกับใคร และมีรายได้เข้ากระเป๋าทุกวันและสามารถแบ่งเป็นเงินเก็บเพื่อเป็นค่าเรียน ballet teaching certificate ได้

สำหรับผู้ที่อ่านมาถึงตอนนี้ เราอยากจะบอกว่า โอกาสมักจะมาหาเราตอนที่เราไม่ได้ตั้งตัวอยู่บ่อยครั้ง เหมือนกับที่อยู่เราได้งาน marketing มาแบบไม่ได้ตั้งตัว แต่เราเองก็ต้องเป็นฝ่ายที่จะมองหาโอกาสเหล่านั้นด้วย ถ้าหากว่าเราอยากจะลองเริ่มอะไรใหม่ๆ เราสามารถเริ่มได้เลยด้วยตัวเราเอง เพราะ ถ้าหากเรามัวแต่ติดอยู่กับความคิด กังวลว่าทำไปแล้วอะไรๆจะไม่เป็นไปตามคาด แต่การเริ่มจะทำให้โอกาสของเราไม่เป็น 0% อีกต่อไป

สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการออกมาทำสิ่งที่เรารักอยู่เป็นระยะเวลาปีกว่าๆแล้วก็คือ ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เราต้องพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้เสมอ แผนต่างๆ ที่เราวางไว้อย่างดีอาจจะไม่ได้ดำเนินไปตามที่เราคาดเอาไว้ แต่การที่แผนมันถูกเปลี่ยนไปอยู่เรื่อยๆ ถือเป็นบทเรียนที่ดีมากๆ สำหรับเรา และสิ่งที่สำคัญที่สุดของการเลือกที่จะออกมาทำในสิ่งที่เรารัก ก็คือ วินัยในตนเอง ซึ่ง…

เราจะมาเล่าให้ฟังอีกในโพสต์ถัดไปค่ะ  : )

 

 

Introduction: เรื่องราวทั้งหมดมันเป็นอย่างนี้ล่ะค่ะ (ภาคแรก)

คนธรรมดา เรียนจบการตลาด ทำงานในบริษัทชั้นนำ มีความมั่นคง สวัสดิการดี ไปเรียนต่อโทเมืองนอกสาขาจิตวิทยา แล้วก็กลับมาทำบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก แต่สุดท้าย ลาออก! แล้วขอเลือกทำในสิ่งที่เรามี passion และ ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้ทำงาน เป็นระยะปีกว่าๆแล้ว ฟังดูเหมือนคนแค่ไม่อยากทำงานใช่มั๊ย?

“ไม่ใช่ค่ะ”

แต่เราเพียงแค่เลือกที่จะทำในสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เรามีไฟให้กับมันตลอดเวลา และก็พร้อมที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ ก็แค่นั้นเอง

เรามาจากครอบครัวชั้นกลาง ที่ไม่ได้ขาดแคลน แต่ก็ไม่ได้มีมากจนเราไม่ต้องแคร์เลยว่ารายรับของเราจะเป็นยังไง ตั้งแต่เด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ก็ส่งให้เรียนหลายๆอย่าง เช่น บัลเล่ต์ เปียโน รำไทย เสาร์อาทิตย์ ตารางเรียนแน่นมาก แน่นจนถึงยุครุ่งเรื่องของ Siam ที่มี Center Point โบว์จอยซ์โบกผ้าเช็ดหน้า เพื่อนชอบไปเรียนกวดวิชา ไปเดินสยาม กินชานมไข่มุก แต่เราแทบจะไม่ได้มีโอกาสไปเพราะต้องเรียนวิชาความสามารถพิเศษต่างๆที่บอกไปนั่นแหละ แต่ความโชคดีของเราคือ เราอยากเรียนเอง บัลเล่ต์เนี่ย ชอบมากๆ แล้วขอให้คุณแม่พาไปเรียนเองเลย เปียโน…ไม่แน่ใจแฮะ จำความไม่ได้จริงๆ แต่เป็นประโยชน์กับชีวิตมากๆ จนถึงทุกวันนี้ 😛  ส่วนรำไทยก็เป็นศาสตร์ที่สวยงาม เราเรียนแบบนี้มาตั้งแต่เล็กๆ 3 ขวบ เริ่มเรียนบัลเล่ต์ 4 ขวบเริ่มเรียนเปียโน แล้วก็ตามมาด้วยรำไทย

เราเรียนบัลเล่ต์มาโดยตลอด ผลการเรียนบัลเล่ต์ก็ถือว่าดีมากๆ แต่ความโชคร้ายในชีวิตคือ เราเองผ่านการบาดเจ็บมานับไม่ถ้วน  เล่าให้ใครฟัง ก็จะพูดประโยคนี้กลับมาเสมอ….  “นี่แกเรียนบัลเล่ต์หรือว่าไปรบวะ” เราทั้งเอ็นข้อเท้าฉีก กระดูกแตก และเจ็บหลัง สารพัด และเพราะการบาดเจ็บ ฝันที่อยากจะเป็นนักบัลเล่ต์ หรือ Ballerina ในภาษาอังกฤษ ก็สลายไปต่อหน้าต่อตา จนล่าสุดก็มีการไปจัดกระดูกสันหลังมา ที่พิมพ์มาทั้งย่อหน้านี้ ก็แค่จะบอกว่า เราไม่เคยทิ้งบัลเล่ต์เลย พักตอนบาดเจ็บ หายเจ็บก็ไปฟื้นตัวใหม่ อารมณ์คล้ายๆนักกีฬา ฮ่าๆๆ

ป.ตรี เราก็เรียนสาขายอดนิยม ที่การันตีว่าจบมา หางานทำได้แน่ๆ ก็คือ บริหารธุรกิจ (หรือที่เรียนกันว่า BBA) สาขาการตลาด จบมามีงานทำ มีเงินเดือนที่โอเค มีสวัสดิการที่ดีมาก บริษัทที่ได้ทำก็ถือว่าเป็นบริษัทในฝันของหลายๆคน  อยู่ๆไปสักปีครึ่ง ด้วยความที่เป็นคนไฟแรง พูดตรง นิสัยมีความเป็นฝรั่งหน่อยๆ ซึ่ง ณ ตอนนั้น เรามีความรู้สึกว่า บริษัทที่เราอยู่ไม่ตอบโจทย์ ไม่ท้าทาย (ประมาณว่าไม่ได้ลองวิชาที่เรียนมานั่นหละ) เราก็เลยตัดสินใจยื่นซองขาว เพราะ เชื่อหรือไม่งานที่ไม่ได้หนัก งานที่ถือว่าค่อนข้างสบาย ถ้าผลงานไม่ได้เข้าขั้นแย่จริงๆก็ไม่ได้มีผลขนาดนั้น แต่ก็ทำให้คนเราเครียดได้เหมือนกัน

บริษัทถัดมา เราเปลี่ยนสายงานมาเป็นนักวิจัยตลาด หรือ Market research นั่นเอง ดูดีมาก บริษัทดีมาก มีชื่อเสียงระดับโลก ด้วยความที่เป็นคนถึกอยู่แล้ว สู้งานหนัก และได้ทำงานที่เราสามารถตัดสินใจอะไรด้วยตัวเอง ได้คุมโปรเจคเอง คือมันดีมาก เท่ห์มากในความคิดของเรา เงินเดือนก็เพิ่มขึ้น แฮปปี้ 🙂

แต่เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ความจริงปรากฏ งานโค-ตะ-ระหนัก! ทำงานไม่ได้หลับไม่ได้นอน ทำงานวันละ 10-12 ชม. พีคที่สุดคือ อยู่ที่ทำงานจนถึง เที่ยงคืน แล้วหอบงานมาทำต่อยันตีห้า แล้วกลับไปที่ทำงานอีกทีตอน 11 โมง  สภาพเราเองก็เหมือน zombie เข้าไปทุกวันๆ จนเริ่มป่วยง่าย หนึ่งเดือนต้องมีลาป่วยสักวันสองวัน (ป่วยจริงๆ ไม่ได้ขี้เกียจ) หรือบางครั้งป่วยก็ไม่กล้าหยุด เพราะ งานมันเยอะเหลือเกิน กลัวทำงานไม่ทัน

ป่วยไม่ได้ ตายก็ไม่ได้

เวลาผ่านไปเกือบๆจะ 2 ปี ก็เลยตัดสินใจไปเรียนต่อ เพราะตัวเองเป็นคนที่สนใจเรื่องของ จิตวิทยาอยู่แล้ว ไปใช้ชีวิตคนเดียวในประเทศที่เราไม่ได้มีคนรู้จัก ไม่เคยแม้กระทั่งที่จะไปเที่ยว เป็นความท้าทายในชีวิตอีกอย่างนึง นอกจากจะต้องเรียนวิชาที่ไม่เคยเรียนให้รอดแล้ว สกิลแม่บ้านก็ต้องมี ตั้งแต่ทำกับข้าว งานบ้านต่างๆยันขัดห้องน้ำ

พอได้ใบปริญญากลับมา เชื่อหรือไม่ เรากลับไปทำงานที่เดิมอีก

เหตุผลที่กลับมาที่เดิม เพราะ เราชอบเพื่อนร่วมงาน วัฒนธรรมองค์กรที่มันถูกจริตกับเรา ต่างแค่ที่ว่าคราวนี้ อยู่ได้แค่ไม่ถึงครึ่งปี ทั้งๆที่เงินเดือนก็สูงขึ้น แต่ผู้อ่านทุกท่านก็น่าจะพอทราบอยู่แล้วว่า ตำแหน่งสูงขึ้น เงินเดือนเยอะขึ้น ความรับผิดชอบมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น

เราเริ่มงานวันแรก เราไฟแรงสุดๆ จนถึงวันที่ตัดสินใจออก ไฟที่มันลุกโชน
เหลือเพียงแค่ไม้ขีดที่โดนน้ำราด!

เราเหนื่อย สุขภาพเราพัง เราไม่ไหวแล้ว หลังจากที่คิดคำนวณรายได้ กับเวลาที่เราให้ที่ทำงานแล้ว รายได้ต่อชั่วโมงเราน้อยกว่าแรงงานขั้นต่ำอีกนะ!  อีกอย่างก็คือความย้อนแย้งของความรู้สึกของตัวเราเอง ที่เวลาคุยกับคนอื่นว่าเมื่อเจอประโยคที่ว่า

“ทำงานที่ไหน” หรือ “ทำงานอะไร”

ชื่อบริษัทที่เราเคยๆ ทำงานมา มันก็ทำให้เราภูมิใจ เพราะว่ากว่าจะเข้ากันได้ ก็ไม่ง่าย เหมือนเป็นการบอกเป็นนัยๆนั่นแหละ ว่าเราก็ไม่ธรรมดานะ มีศักยภาพนะคะ แต่เราเหนื่อย สุขภาพพัง แล้วความสุขมันค่อยๆ ลดลงไปทีละนิดๆ จนสุดท้ายกลายเป็นคนหงุดหงิดง่าย ตื่นนอนมาก็งอแงเหมือนเด็กไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากไปทำงาน

ความคิดแรกคือ ย้ายที่ทำงาน คำถามต่อมาคือ เราอยากทำอะไร ไม่มีอะไรตอบโจทย์เลย แต่ทำไมเราเห็นเพื่อนๆ หลายๆ คนบอกว่าชอบงานที่ทำ enjoy มากๆ ทำไมเราหาไม่เจอ แล้วเราจะต้องเปลี่ยนสายงานอีกกี่รอบจนกว่าจะเจองานที่ใช่? ก็เลยมาให้เวลากับตัวเอง คิดว่าเราชอบอะไร อะไรที่เราทำแล้วเราไม่รู้สึกท้อกับมัน

จนมาถึงบางอ้อ ว่ามันคือการเป็น “ครูสอนบัลเล่ต์”

ตลอดเวลาหลังจากที่เรากลับมาจากเมืองนอก คุณครูที่เราเคยช่วยสอน ก็ให้โอกาสเราได้เป็นครูหลัก เราสอนบัลเล่ต์ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เช้ายันเย็น แต่ไม่ใช่ว่า ใครเรียนจบ Advance แล้วจะมาสอนเด็กๆได้นะคะ มันต้องเริ่มจากการเก็บประสบการณ์กันซะก่อน เราก็เริ่มจากการเป็นครูผู้ช่วยตั้งแต่เราเรียน ม.ปลาย ช่วยสอนทุกวันเสาร์ ดูว่าคุณครูเค้ามีวิธีสอนยังไง วิธีการอธิบาย การใช้ลูกล่อลูกชนเพื่อให้เด็กมีสมาธิในการเรียนตลอด 2 ชม.​ นับตั้งแต่วันนั้น จนถึงวันที่มาใคร่ครวญสิ่งต่างๆ มากมายแล้ว รวมชั่วโมงบินแล้วก็ร่วมๆ 10 ปีได้ เราเคยอยากเป็นนักเต้นบัลเล่ต์มืออาชีพมากๆ แต่มีเหตุที่ทำให้เราไปถึงฝันตรงนั้นไม่ได้ เราคิดอยู่ตลอดว่าบัลเล่ต์เป็นสิ่งที่เรารัก และที่สำคัญเรารู้สึกว่ามันใช่ เราไม่ได้รู้สึกว่าทำงาน เราอยากจะเป็นครูที่ดีขึ้น เราอยากจะให้นักเรียนมีความสุขกับการเรียน และพัฒนาความสามารถไปได้เรื่อยๆ ขนาดทำงานประจำจันทร์ถึงศุกร์แล้ว เราไม่เคยคิดที่จะลาหยุดเพียงเพราะคำว่าเหนื่อย นอนไม่พอ เราหยุดต่อเมื่อเราป่วยหนักๆ เท่านั้น แถมการสอนบัลเล่ต์ก็ทำให้เราได้อยู่กับสิ่งที่เรารักตลอดเวลา นี่แหละคงเป็นหนทางที่ใช่สำหรับตนเอง

สุดท้ายก็ต้องผ่านกระบวนการ Exit Interview อีกรอบ…และบอกลาชีวิตพนักงานเงินเดือน ออกสู่โลกของฟรีแลนซ์ของจริง

11870802_10153444411351638_1623783424299375354_n

มีต่อในโพสต์หน้านะค้าาาา  🙂

 

Memory Box(es)

I am sure most people owns at least 1 memory box that stores pictures from different times in their lives, some letters (if you were born before the Internet era), and some important materials.

I am not different. I own 2 memory boxes where I kept my favorite photos, tickets concerts/shows/exhibition, business cards, and whatever I think will bring joy every time I spend my time go over things in that boxes.

BUT!

How many times in my life exactly that I intentionally go through things in those boxes. Maybe once a year or less!?  And what was the occasion to look at those things? I can only think of one…when I have to do major change in my room which happens like once every 5 years. Not once I have the urge to spend my time with my memory boxes and reminisces to good old time. Girl…it’s time to throw away some junk!

After a careful consideration I have decided to reduce the amount of things that I have been holding on for almost 2 decades. I have realized that those things are merely symbols/representations of the memories I have. What is more important is the memory itself, not the material.

What I have decided to throw away…concert tickets that do not look attractive, concerts that I have been to and already forgot about them. Photos that I have taken which doesn’t mean anything to me anymore, and, of course, ones that I look terrible 😛 Some other items that I don’t know why I decided to kept. I was able to reduce those by more than half.

So it’s down to 3 quarters of a box now. As this is a beginning of my minimalist journey, I will take it slowly but steady. I am getting better in organizing things and actually prioritize the important things in my lives. Moreover, I feel good when the persons I give my old belongings are happy and need those things more than I do.

Keep it simple,
Things that Matter 🙂

 

 

 

Point of View

I would describe a lifestyle of this vibrant city so called the city of angles or Bangkok as a maximalist. Why?  Everywhere I look, people are constantly striving for more…more clothes, more property, more money and more of everything. I always hear people say, “if I have (an item, you name it), I’ll be happier.” Once they have purchased the item, nothing has really changed, but the space in their home has been taken for an extra item that they recently bought. Believe it or not, in a few months time, that extra item that people have once said to fulfill their lives will be forgotten and become a burden in the future.

People said they want to be happy, but they never settle for anything. It’s never enough.

First of all, I have to say I come from a middle-class family that is never a minimalist. We have lived in a society where our possessions reflect social status and photos on social media portray a “good life” we live. I can save you time and tell you that those are all filtered.

I had been in a society that value these designer items until I actually hypnotized myself that I should own one too. Therefore, I took my hard-earned money out of the bank to buy a Louis Vuitton bag, that I have never really used. Even worst, I saved money for many other things that I finally bought and never thought of it again after a few months that I had in my possession.

I used to be a white-collar, working in a fancy office earning above average of a bachelor’s degree graduates. My friends, my cousins, and acquaintances thought that my live was perfect. The reality was I worked 10-12 hours a day, I always brought work home after I had left my office at midnight just to finish the task at 4 am and back to work again at 10 am. I get sick almost every month for a year and a half, what a vicious cycle. I finally decided to study abroad for a year and came back to work at the same company, repeating my horrible lifestyle just to get sick regularly for another 6 months and finally I quit.

Why did I do that to myself? Why did I chose that lifestyle? My answer was social norm and social expectation. And I simply cared about what would other people think, if I had chosen otherwise.

‘Where to?’, people asked.

‘To where my passion is. To where I do not feel that I don’t feel a day that I am working’, I answered.

After a year of living a freelance life, there are pros and cons. Living as a freelance has got me thinking, what’s actually important in life and what’s not, which I will write more about this later on. I have reached the point that deep down, I am not a materialist, coupled with I have actually started looking into a concept of  ‘minimalism’. And that is why I started this blog. This blog was meant to be written in Thai, but statistics shown “Thai people read  less than 8 lines a day.” Hey! Why don’t I just exercise my writing skill in English. So here I am starting this blog.

Let the journey of “Things that Matter” begin 🙂

18955084_10155118727551638_8702468035058898597_o